วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2562

อนุทินที่3

บทที่ 2 กฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของชาติ
1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ  ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เหตุที่ขอ คือ เห็นว่าราษฎรมีการศึกษาสูงขึ้น มีข้าราชการที่มีวุฒิการศึกษาสูง นำความรู้มาพัฒนาประเทศได้เพื่อที่จะก้าวหน้าไปสู่หลักสากลเทียบเทียมอารยประเทศ จึงเห็นควรให้ข้าราชการและประชาชนได้มีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า
ประเด็นเกี่ยวกับการศึกษา คือ ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ในตัวเอง เคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ

2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
ตอบ  หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
                มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
                มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
                หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
                มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
                มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดาเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
                มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ   แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 มีทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน
- ปี พ.ศ. 2511 และ ปี พ.ศ.2517 ทั้งสองปี พ.ศ.มีความเหมือนกันในการศึกษาจะส่งเสริมการศึกษาในระดับอุดมศึกษา รัฐบาลจัดการให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมของตนเอง และการศึกษาระดับประถมศึกษาจะไม่เก็บค่าเล่าเรียน แต่ ปี พ.ศ.2521 การศึกษาระดับอุมศึกษาจะไม่เก็บค่าเล่าเรียน มีการฝึกอาชีพให้กับนักเรียนเพิ่มเติมอีกด้วย ส่วนระดับประถมไม่ได้พูดถึง
- ทั้ง 3 ปี พ.ศ. จะส่งเสริมในงานวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
- ปีพ.ศ.2521 ส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา แต่ ปี พ.ศ. 2511 และ ปี พ.ศ.2517 ไม่ได้พูดถึง

4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
                ตอบ  ในประเด็นที่ 1 จะไม่ค่อยบังคับด้านการศึกษาโดยจะให้เสรีในการเลือกตัดสินใจ  ประเด็นที่ 2 มีการเข้มงวดในเรื่องการศึกษาโดยทางรัฐบาลจะช่วยเหลือด้านเข้าเล่าเรียน

5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
                ตอบ  แตกต่างกัน  คือ  รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534  รัฐทำหน้าที่ส่งเสริมและบำรุงการศึกษาและสถานศึกษาทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบ คุมของรัฐ โดยรัฐมีการช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนในการศึกษา  และสำหรับการศึกษาภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐและท้องถิ่นจัดให้โดยไม่เก็บ ค่าเล่าเรียน  แต่รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550  ได้มีวิวัฒนาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่เสรีภาพ การศึกษาอบรม ให้กับเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบรูณ์ทั้งทางร่างกายจิตใจ สติปัญญา คุณธรรมจริยธรรม โดยมีแนวทางในการจัดการศึกษา รัฐจะต้องจัดการศึกษาและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่ คุณธรรมเช่นกัน และจัดการศึกษาภาคบังคับให้เข้ารับการศึกษาอบรมโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย สำหรับการศึกษาภาคบังคับ ต่อมาได้เพิ่มเติมจัดการศึกษาขั้น พื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปีรัฐจะต้องจัดอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ

6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย
                ตอบ  เพราะหากรัฐไม่ได้ระบุถึงการจัดการศึกษาที่เป็นธรรมและทั่วถึงแล้ว จะทำให้คนในประเทศเกิดความเหลื่อมล้ำกันทางการศึกษา ทำให้โอกาสในการได้รับการศึกษาต่างกัน คนมีอำนาจหรือมีความร่ำรวยจะได้ได้โอกาสมากกว่าคนจนหรือประชาชนธรรมดา จนอาจทำให้บุคคลกรภายในประเทศไม่มีความพร้อมสู่การพัฒนา

7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
                ตอบ  เมื่อกำหนดรัฐธรรมนูญขึ้นมาจะต้องมีหน่วยงานของรัฐและเอกชนมาให้ความช่วยเหลือทางด้านการศึกษาให้ทั่วถึงและความเสมอภาคแก่ปวงประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน หากไม่ปฏิบัติจะเกิดความไม่เสมอภาคความไม่เท่าเทียมกันและขาดการช่วยเหลือทางการศึกษาจนอาจทำให้ประเทศชาติเกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา กลายเป็นว่าจะมีเเค่บุคคลบางกลุ่มเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงการศึกษาได้

8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย
                ตอบ  ฉบับที่ 5-10  (พ.ศ 2540-2550) และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้นคิดว่าโอกาสที่ประชาชนจะได้รับการศึกษาสูงจะเพิ่มมากขึ้นเพราะเป็นการกระจายอำนาจให้กับประชาชนและได้รับการช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข้มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
                ตอบ  เพราะว่าเราทุกคนที่เกิดมา ไม่ว่าจะเป็นเพศชาย หรือหญิง ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาสทุกคนมีสิทธิในความเป็นมนุษย์ทุกคนสามารถพัฒนาได้ เพราะฉะนั้นทุกคนควรได้รับความเสมอภาคและการช่วยเหลือที่เท่าเทียมกันและการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสานึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย มีความรักษาสามัคคีปรองดองกัน คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
                ตอบ  ในด้านการศึกษา
                1. นโยบายเรียนฟรี 15 ปี ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนในประเทศได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่ได้มีการเก็บค่าใช้จ่ายเเต่อย่างใด จนทำให้ประชาชนระดับรากหญ้าได้มีโอกาสเเละได้ศึกษาเล่าเรียน
                2. ค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์การเรียน ในเเต่ละปีรัฐบาลก็จะมีค่าอุปกรณืให้กับนักเรียนเพท่อเเบ่งเบาภาระทางบ้าน ไม่ว่าจะเป็น สมุด หนังสือเรียนฟรี เเละอุปกรณือำนวยความสะดวกอื่นๆอีกมากมาย
                3.  การมอบทุนการศึกษา ให้กับนักเรียนในโอกาสต่างๆ เช่นนักเรียนเรียนดีเเต่ยากจน หรืออาจเป็นทุนสนับสนุนความเป็นเลิศของนักเรียนในเเต่ละด้าน
                4. การให้การศึกษาแก่ผู้พิการเพราะทุกคนที่เกิดมามีสิทธิที่จะได้รับการศึกษาไม่เว้นเเต่ผู้พิการต้องได้รับการดูเเลเเละได้รับการศึกษาเพื่อที่จะได้นำความรู้ไปช่วยเหลือตัวเอง เเละในการทำอาชีพต่อไปในอนาคต

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 2

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย


1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมาย หากไม่มีจะเป็นอย่างไร
               ตอบ การที่เรามาอยู่ร่วมกันอยู่เป็นจำนวนมาก จะต้องเกิดความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องตั้งกฎและระเบียบขึ้นเพื่อจำกัดสิทธิบางอย่าง และให้มีเสรีภาพเท่าเทียมกัน เพื่อจะได้อยู่รวมกันอย่างมีความสุข ไม่เกิดความขัดแย้ง หากไม่มีกฎหมาย อำนาจจะตกอยู่กับผู้ที่มีอำนาจ ไม่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีบทลงโทษ ในที่สุดไม่มีระเบียบวินัย บ้านเมืองมีปัญหาวุ่นวาย ต่างคนต่างจะทำในสิ่งที่ต้องเองต้องการ โดยไม่เกรงกลัวความผิด ผู้มีอิทธิพลก็จะเป็นผู้ควบคุมคนในสังคม

2.ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ ถ้าไม่มีกฎหมาย บ้านเมืองคงมีปัญหาความวุ่นวายเกิดขึ้นมากมาย คงไม่ต่างไปจากเมืองเถื่อนที่ผู้มีอิทธิพลเป็นผู้มีอำนาจ ผู้ด้อยกว่าก็จะโดนเอาเปรียบ ไม่มีสิทธิเรียกร้องสิทธิมนุษยชน ความสงบสุขก็จะหายไป

3. ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ก. ความหมาย
กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้น ๆ ที่จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
  1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุด อาทิ รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้ เช่น รัฐสภา ตราพระราชบัญญัติ คณะรัฐมนตรี ตราพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา คณะปฏิวัติออกคำสั่ง หรือประกาศคณะปฏิวัติชุดต่าง ๆ ถือว่าเป็นกฎหมาย
2. มีลักษณะเป็นคาสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์ อาทิ ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ คำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมาย สำหรับคำสั่งข้อบังคับที่เป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 พระราชกำหนดบริหารราชการฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นต้น
3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ใช้บังคับกับผู้ที่มีเงินได้ แต่ไม่บังคับเด็กที่ยังไม่มีเงินได้
การแจ้งคนเกิดภายใน 15 วัน แจ้งคนตายภายใน 24 ชั่วโมง ยื่นแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน เมื่ออายุย่างเข้า18 ปี เข้ารับการตรวจคัดเลือกเป็นทหารประจำการเมื่ออายุย่างเข้า 21 ปีเป็นต้น
4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้น ๆ กำหนด หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้ และสภาพบังคับในทางอาญาคือ โทษที่บุคคลผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ เช่น รอลงอาญา ปรับจำคุก กักขัง ริมทรัพย์ แต่หากเป็นคดีแพ่ง ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าเสียหายหรือชำระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ เช่น บังคับใช้หนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ย บังคับให้ผู้ขายส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายเป็นต้น
ค. ที่มาของกฎหมาย
1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร เช่น กฎหมายประมวลรัษฎากร รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ซึงกฎหมายดังกล่าว ผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี เช่น ห้ามลักทรัพย์ ห้ามผิดลูกเมีย ห้ามทำร้ายผู้อื่น กฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลัง ๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทาไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้ อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้ จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น สมควรหรือไม่ จึงทำให้นักนิติศาสตร์ อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้
ง. ประเภทของกฎหมาย
การแบ่งประเภทกฎหมายที่จะนำไปใช้นั้นมีรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกัน
การแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย ขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่ว ๆไปดังนี้
ก. กฎหมายภายใน มีดังนี้
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลักโดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ
1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป
2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 วรรคแรก บัญญัติโทษทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จาคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน
2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ กันไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
3.1 กฎหมายสารบัญญัติ แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก
3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ กล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ
4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน รัฐเป็นผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย
แก่สังคม เป็นเครื่องมือในการควบคุมสังคม คือ กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กำหนดระเบียบ
4.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน เช่น กฎหมาย แพ่งและพาณิชย์
ข. กฎหมายภายนอก มีดังนี้
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ ๆ
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลง ยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอกประเทศนั้นได้

4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
ตอบ ทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมายเพราะว่า ข้อกฎหมายเป็นบังคับที่ใช้ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ในสังคม กฎหมายนั้นเกิดขึ้นจากสังคมและเพื่อสังคมไม่อาจมีสังคมไหนจะธำรงอยู่ได้โดยไม่ต้องใช้กฎเกณฑ์หรือระเบียบพฤติการณ์ในสังคม มนุษย์จำต้องมีกฎเกณฑ์เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตเพื่อส่งผลให้ประเทศให้มีความสงบสุข เพราะการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง การแก้แค้นซึ่งกันและกัน ถ้ามีการใช้กำลังกันบ่อยเข้าสังคมมนุษย์จึงไม่อาจดำรงอยู่ได้ ความมีเหตุผลเป็นพื้นฐานที่สังคมมนุษย์พัฒนาการจากสังคมเล็กที่สุด คือครอบครัว ไปสู่สังคมที่ใหญ่ที่สุดคือ รัฐจึงทำให้มนุษย์สร้าง กฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนขึ้นมาเพื่อใช้และเป็นกรอบในการดำรงชีวิตจนนำไปสู่ความสงบสุขของประเทศชาติ

5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ สภาพบังคับในทางกฎหมายนั้นก็คือการบังคับใช้กฎหมาย ระเบียบ ข้อตกลง หรือบทลงโทษต่างๆ

6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
               ตอบ มีความแตกต่างกัน คือ แตกต่างกันด้วยสภาพบังคับ ในกฎหมายแพ่งนั้น มีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง กล่าวคือ ถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ล่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ก็อาจจะถูกยึดทรัพย์มาขายทอดตลาด เอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล หรือมิฉะนั้น อาจถูกกักขังจนกว่าจะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลก็ได้
              ส่วนในกฎหมายอาญานั้น มีสภาพบังคับอีกประเภทหนึ่ง คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด ซึ่งโทษดังกล่าวมีอยู่ 5 สถานด้วยกัน คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไรจงอธิบาย
               ตอบ แบ่งเป็น 2 ระบบดังนี้
              1. ระบบซีวิลลอร์ (Civil Law System) หรือระบบลายลักษณ์อักษร เป็นระบบเอามาจาก “JusCivile”ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คำพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญจะถือเอาคำพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของนักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้
              2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคำว่า
เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นำเอาจารีตประเพณีและคำพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด

8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
2. ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
3. ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
1. ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
               1.1. ระบบลายลักษณ์อักษร ( Civil law System ) ประเทศไทยใช้ระบบนี้เป็นหลัก กระบวนการจัดทำกฎหมายมีขั้นตอนที่เป็นระบบ มีการจดบันทึก มีการกลั่นกรองของฝ่ายนิติบัญญัติคือ รัฐสภามีการจัดหมวดหมู่กฎหมายของตัวบทและแยกเป็นมาตรา เมื่อผ่านการกลั่นกรองจากรัฐสภาแล้ว จะประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยราชกิจจานุเบกษา กฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
               1.2. ระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี ( Common Law System)
เป็นกฎหมายที่มิได้มีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่ และไม่มีมาตรา หากแต่เป็นบันทึกความจำตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้กันต่อๆมา ตั้งแต่บรรพบุรุษรวมทั้งบันทึกคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาคดีมาแต่ดั้งเดิม ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณีหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ประเทศอังกฤษและประเทศทั้งหลายในเครือจักรภพของอังกฤษ
2. ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
              2.1. กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล กำหนด ข้อบังคับความประพฤติของบุคคลทั้งในทางแพ่งและในทางอาญา โดยเฉพาะในทางอาญา
คือ ประมวลกฎหมายอาญา จะบัญญัติลักษณะการกระทำอย่างใดเป็นความผิดระบุองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษไว้ว่าจะต้องรับโทษอย่างไร และในทางแพ่ง คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ จะกำหนดสาระสำคัญของบทบัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในฐานะต่าง ๆ ตามกฎหมาย เช่น นิติกรรม หนี้ สัญญา เอกเทศสัญญา เป็นต้น
              2.2. กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีการปฏิบัติด้วยการนำเอากฎหมายสารลบัญญัติไปใช้ไปปฏิบัตินั่นเอง เช่น ไปดำเนินคดีในศาลหรือเรียกว่า กฎหมายวิธีพิจารณาความก็ได้ กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดระเบียบ ระบบ ขั้นตอนในการใช้ เช่น กำหนดอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ต้องหา วิธีการร้องทุกข์ วิธีการสอบสวนวิธีการนำคดีที่มีปัญหาฟ้องต่อศาล วิธีการพิจารณาคดีต่อสู้คดี ในศาลรวมทั้งการบังคับคดีตามคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก
3. ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
              3.1. กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐตราออกใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชนการบริหารประเทศรัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม จึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวม จึงเรียกว่า กฎหมายมหาชน กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายอาญา เป็นต้น
             3.2. กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกันเอง เป็นความสัมพันธ์ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา คือ เอกชนด้วยกันเอง รัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม จึงให้ประชาชนมีอิสระกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกรอบของกฎหมายเพื่อคุ้มครองความเสมอภาคมิให้เอาเปรียบต่อกันจนเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นต่อ

9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ ศักดิ์ของกฎหมาย คือ เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่า อาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน ในการจัดลำดับจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลำดับที่สูงกว่าไม่ได้และเราจะพิจารณาอย่างไร โดยพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมายโดยใช้เหตุผลที่ว่า (1) การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็น ตัวแทนของปวงชน (2) การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจำเป็นของสังคม (3) ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น

10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าและประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุมและขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
ตอบ เป็นการกระทำที่ผิด เพราะ ประชาชนมีสิทธิที่จะเรียกร้องสิทธิของตนเองเพราะประเทศไทย เป็นประเทศประชาธิปไตยมีสิทธีเสียงเท่ากัน รัฐธรรมนูญ ระบุอยู่แล้วว่า
               1. บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
               2. บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
               3. บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิของตนเอง
               4. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ

11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่ากฎหมายการศึกษาอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ กฎหมายการศึกษา คือ บทบัญญัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีกฎหมายการศึกษาขึ้น ที่จะเชื่อมโยงกับกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการศึกษาคือ จะเป็นกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับกฎหมาย เพื่อให้บุคคลประพฤติปฏิบัติตาม ไปสู่การพัฒนาคนและสังคมสู่ความเจริญงอกงาม ธำรงไว้ซึ่งอิสรภาพ เสรีภาพของบุคคลและประเทศชาติ

12.  ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษา ท่านคิดว่าเมื่อท่านไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไร

ตอบ ในฐานะที่เรียนรายวิชานี้ถ้าหากเราเองไม่ทราบกฎหมายทางการศึกษา จะทำให้การดำเนินงานของเราไม่เป็นแบบ เราจะไม่ทราบถึงระเบียบ ข้อปฏิบัติของทางราชการ และสิ่งที่ครูต้องปฏิบัติตามความคาดหวังของสังคมในฐานะที่อาชีพครูเป็นอาชีพ  ข้อละเว้นการประพฤติปฏิบัติสิ่งที่เป็นข้อห้ามสิ่งที่ไม่ชอบไม่ควร ซึ่งวินัยข้าราชการครูมีทั้งระเบียบ ข้อปฏิบัติของทางราชการ และสิ่งที่ครูต้องปฏิบัติตามความคาดหวังของสังคมในฐานะที่อาชีพครูเป็นอาชีพพิเศษที่ทำหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนจำเป็นต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อศิษย์ และสิ่งสำคัญอีกอย่างบางครั้งเราอาจกระทำการใดๆลงไป ที่ไม่เหมาะสมที่ส่งผลกระทบกับบุคคลอื่น อาจก่อความเสียหายในหลายๆทางอาจส่งผลถึงภาพลักษณ์ที่ไม่ดีของข้าราชการครู ดังนั้นจำเป็นต้องมีกฎหมายการศึกษามาเป็นกราบเเนวทางข้อบังคับในการดำเดินงานของบุคคลากรทางการศึกษาเเละมีบทลงโทษสำหรับการทำผิดวินัยเพื่อจะได้เกรงกลัวเเละไม่กล้าทำผิดวินัยอีก

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 1


1.ประวัติของผม

ชื่อ นาย สถาพร บางประดิฐกุล

ชื่อเล่น แบงค์ อายุ 23 ปี

ที่อยู่ บ้านเลขที่ 45 หมู่ 4 ตำบล ไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

การศึกษา

ระดับประถมศึกษา โรงเรียนท่าศาลา

ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา

ปัจจุบันกำลังศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ สาขาพลศึกษา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

กิจกรรมที่ผมชอบ

การออกกำลังกาย

เล่นกีฬาเซปักตะกร้อ

ถ่ายภาพท่องเที่ยว

สีที่ชอบ สีฟ้า


2.อุดมการการเป็นครูของตนเอง

การเป็นครูเราจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นักเรียนและจะต้องให้ความรักสอนความรู้แก่นักเรียนที่เท่ากันทุกคน ครูจะต้องมีความเมตตาโอบอ้อมอารีแก่นักเรียนมีความเสียสละสอนให้นักเรียนเป็นคนดีและรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง


3.เป้าหมายของตนเอง

อยากจะเป็นครูพลศึกษาในระดับโรงเรียนมัธยมและมีโอกาสได้ทำกีฬาที่ตนเองถนัดในการทำทีมกีฬาเซปักตะกร้อในโรงเรียน